นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุนเปิดเผยว่า หลังจากกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน หรือทีอีเอสจี เปิดขายไปแล้ว15วัน ณ วันที่22ธ.ค. 66ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)16แห่ง เพื่อใช้ลดหย่อนภาษี พบว่า มียอดขายรวมกันใกล้ถึง3,000ล้านบาท และคาดว่าในช่วง23-28 ธ.ค. นี้ จะมีผู้ที่เข้าซื้อเพิ่มขึ้นอีกมาก จากที่ผ่านมารอดูจังหวะ และใช้เวลาเลือกดูว่าจะไปเข้าที่กองไหน เลือกของ บลจ. อะไร รวมถึงนำค่าบริหารกองทุนและค่าใช้จ่ายในชื่ออื่นๆ ของแต่ละกองทุนมาเทียบกันคำพูดจาก ทดลองเล่น
ทั้งนี้ใน15วันแรก บลจ. ที่มียอดขายสูงสุด5อันดับแรก ได้แก่ บลจ.กสิกรไทย มียอดขาย582ล้านบาท โดยมีกองทุนเดียวสำหรับลงทุนแบบเกาะไปตามดัชนีอ้างอิงชนิดเก็บสะสมกำไรโดยไม่จ่ายปันผล ตามด้วย บลจ.ไทยพาณิชย์ ที่มีถึง6แบบ3แนวทาง คือ แบบกองผสม (หุ้นและตราสารหนี้แบบยืดหยุ่นน้ำหนัก) แบบกองแอคทีฟ คือใช้ฝีมือผู้จัดการกองทุนมากและคิดค่าธรรมเนียมสูง และแบบเกาะน้ำหนักตามดัชนี และคิดค่าธรรมเนียมต่ำโดยทั้ง3แบบนี้ จะแบ่งเป็น แบบจ่ายปันผล กับไม่จ่ายปันผล
นอกจากนี้ อันดับ3บลจ.บัวหลวง ที่มีกองทุนบัวหลวงทศพลไทยเพื่อความยั่งยืน ขายได้421ล้านบาท อันดับ4บลจ.กรุงไทย สามารถทำยอดขายได้รวมกัน277ล้านบาท โดยกองที่ขายดีสุดคือกองแบบผสมหุ้นกับตราสารหนี้ สุดท้าย บลจ.เกียรตินาคินภัทร มีกองพันธบัตรรัฐบาล กับกองหุ้นในแนวแอคทีฟฟันด์ ซึ่งเป็นเครือธนาคารเล็กที่ทำยอดขายได้มากที่สุด รวมถึง231ล้านบาท โดยกองพันธบัตรขายดีกว่ากองหุ้น ส่วนอีก11บลจ. เช่น กรุงศรี ทิสโก้ ยูโอบี และ บลจ.อื่นๆ มียอดลดหลั่นกันลงไป ตั้งแต่100กว่าล้านบาท ลงไปถึงระดับหลายสิบล้านบาท และน้อยสุดคือต่ำกว่า10ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณายอดของแต่ละกองทุนทีอีเอสจีแล้ว จะเห็นว่าเครือธนาคารใหญ่จะมียอดค่อนข้างสูง ซึ่งอาจเป็นเพราะมีฐานลูกค้ามากกว่า ความสะดวกในแอปพลิเคชันที่มีอยู่เดิม และจำนวนสาขาบริการ หรือเป็นแบรนด์ที่นึกได้ทันทีที่สนใจซื้อ จึงเป็นผลให้ บลจ. ที่อยู่เครือธนาคารเล็ก หรือไม่อยู่ในเครือธนาคาร อาจต้องเร่งประชาสัมพันธ์ เพราะแต่ละ บลจ. มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน