หลังจากที่ราชกิจจาประกาศปรับหลักเกณฑ์จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ ทีมข่าวลงพื้นที่ในย่านห้วยขวาง ในกรุงเทพมหานคร เพื่อสอบถามความเห็นเรื่องนี้ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนหนึ่ง ไม่เห็นด้วย เพราะมองว่า เบี้ยผู้สูงอายุควรจะเป็นสวัสดิการถ้วนหน้า เพราะผู้สูงอายุหลายคนไม่มีรายได้แล้วคำพูดจาก สล็อตฝ
ฉบับเต็ม! ปรับเกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยกเลิกถ้วนหน้า ?
ขอคนรวยเข้าใจ! รองโฆษกรัฐบาลแจงปรับเกณฑ์เบี้ยผู้สูงอายุ เพื่อใช้งบกับคนที่ลำบาก
โดยทีมข่าวสำรวจความเห็นผู้สูงอายุในย่านห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พบว่า หลายคนไม่เห็นด้วย เรื่องการปรับเกณฑ์การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ เป็นให้สิทธิ์เฉพาะผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่พอต่อการยังชีพ
โดยมองว่าสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นสวัสดิการที่ให้กับผู้สูงอายุทุกคน แม้จะเป็นคนที่ฐานะดี แต่ในวัยที่สุขภาพไม่เอื้ออำนวยในการทำงาน ก็ควรมีเงินมาจุนเจือ หรือเป็นเงินเก็บในยามเกษียณ ในขณะที่ค่าครองชีพสูง นอกจากนี้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังมองว่า เบี้ยผู้สูงอายุ ซึ่งเริ่มต้นที่ 600 บาทต่อเดือนนั้น น้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่าย เพราะคิดเป็นเพียงวันละ 20 บาทเท่านั้น ขณะที่ นายนิพนธ์ คู่วชิร ผู้สูงอายุรายนี้ มองว่า หากมีการปรับหลักเกณฑ์จริงๆ คนที่มีฐานะอยู่แล้วคงไม่เดือดร้อนอะไร แต่เงินงบประมาณตรงส่วนที่ตัดออกไปนั้น ควรนำมาเพิ่มให้กับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย เพิ่มเป็น 1,000 บาท หรือ 3,000 บาทต่อเดือน อย่างที่บางพรรคการเมืองเคยหาเสียง ไม่ใช่ตัดสิทธิ์คนรวยแล้ว กลับไม่ยอมนำงบมาดูแลคนจน
We Fairไม่เห็นด้วย มองรัฐบาลฉวยโอกาส ลักไก่
ด้านนายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ แกนนำเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม หรือ We Fair ระบุว่า ไม่เห็นด้วย กับการปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุที่ให้พิจารณาคุณสมบัติเรื่องรายได้หรือให้พิสูจน์ความจน เพราะเบี้ยผู้สูงอายุถือเป็นสิทธิ์สวัสดิการที่ผู้สูงอายุควรจะได้รับถ้วนหน้า คนไทยอายุ 60 ปีขึ้นไป เสียภาษีมาทั้งชีวิต ควรจะได้รับสิทธิ์นี้ การออกประกาศในตอนนี้ซึ่งอยู่ในระหว่างรัฐบาลรักษาการ เป็นการฉวยโอกาส ลักไก่ ออกนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
ไทยเข้าสังคมสูงอายุ งบฯส่วนนี้เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว หน้าที่รัฐหารายได้เพิ่ม
ส่วนถ้าหากมีการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุไปเรื่อยๆจะมีผลกระทบต่องบประมาณจึงต้องมีการคัดกรองให้เฉพาะผู้ที่มีรายได้ไม่พอนายนิติรัตน์ ระบุว่า ต้องดูว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ ซึ่งเบี้ยผู้สูงอายุ ก็ปรับตามจำนวนของประชาชน เราเข้าสู่สังคมสูงวัยก็เป็นเรื่องธรรมดา ที่งบประมาณในส่วนของเบี้ยผู้สูงอายุ จะต้องปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องหารายได้ให้มากขึ้น
ซึ่งวิธีการหารายได้มีอีกหลายวิธี แต่ก็ไม่เข้าใจว่ามีความจำเป็นอะไรที่ต้องตัดสิทธิ์สวัสดิการเบี้ยผู้สูงอายุ พร้อมกับ เรียกร้องให้รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามายกเลิกหรือทบทวน ก็ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน
"เบี้ยผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท" ยังเหลื่อมล้ำ
ที่ผ่านมาข้อเสนอของกลุ่มได้เรียกร้องการปรับเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุเป็น 3,000 บาท ซึ่งคิดจาก เส้นความยากจน ที่อยู่ประมาณ 2,803 บาท ซึ่งมีคนจนอยู่ประมาณ 4 ล้าน 8 แสนคน และมีคนเกือบชนอยู่อีก 4 ล้าน 2 แสนคน รวมแล้วประมาณ 9 ล้านคน จึงอยากเห็นการพัฒนาเบี้ยยังชีพให้เป็นระบบ บำนาญประชาชน เพื่อเป็นหลักประกันทางรายได้ ให้กับผู้สูงอายุ
นายนิติรัตน์ ยังยกตัวเลขของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 เปรียบเทียบสวัสดิการของประชาชนและสวัสดิการของข้าราชการจะพบว่า สวัสดิการของภาคประชาชน ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ใช้งบประมาณ 450,000 ล้านบาท ประมาณ 14%เป็นงบประมาณรายจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุประมาณ 8 หมื่นล้านบาท
ขณะเดียวกันสวัสดิการของข้าราชการใช้งบประมาณ 480,000 ล้านบาท ประมาณ 15% แต่มีจำนวนคน 5 ล้านคน เท่านั้น
สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำที่ยังมีอยู่ นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบ ประมาณเบี้ยผู้สูงอายุ ที่ได้รับเดือนละ 600 บาท กับค่าอาหารของสมาชิกวุฒิสภา วันละ 830 บาท
ขณะที่ในอนาคตหากมีการต้องพิสูจน์ความจนเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพการมีระบบคัดกรองอาจจะทำให้ บางคนเข้าไม่ถึงสิทธิ์สวัสดิการที่ควรจะได้รับจะเห็นได้จากการพิสูจน์สิทธิ์ความจน ในการขอรับสิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งก็มีทั้งคนที่จนจริงและไม่จนเข้าสู่ระบบ
ตัดลดงบประมาณเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นการเดินถอยหลังของประเทศ
ด้าน ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมุมมองต่อเรื่องนี้ว่าเรื่องระบบสวัสดิการคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ แม้จะมีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ถึงจะเป็นเบี้ยยังชีพเดือนละ 3,000 บาท ก็ยังใช้งบประมาณน้อยกว่างบบำนาญข้าราชการในระยะยาว
ในที่สุดแล้ว เมื่องบประมาณสำหรับบำนาญข้าราชการจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วน่ากังวล ควรที่จะใช้โอกาสนี้ในการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นธรรม ตามข้อเสนอทางเศรษฐศาสตร์ที่มีมากมาย เพื่อให้มีงบประมาณสามารถคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุได้ทั้งสังคม
แต่ข้อเท็จจริง คือ รัฐบาลไม่ยอมทำ ดังนั้น การตั้งเป้าหมายตัดลดงบประมาณเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จึงเป็นการเดินถอยหลังของประเทศ